Friday, June 3, 2016

กินอาหารอย่างไรป้องกันไม่ให้ผมร่วง

มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่กังวลเกี่ยวกับปัญหาเส้นผมของพวกเขา ไม่รู้จะจัดการอย่างไรกับปัญหาผมร่วง ผมเสีย ผมแตกปลาย และปัญหาเกี่ยวกับหนังศีรษะ ส่วนใหญ่มองข้ามความสำคัญของอาหาร มีอาหารหลายประเภทที่ช่วยในการเจริญเติบโต บำรุงรักษา ซ่อมแซมเส้นผมและหนังศีรษะ

แครอท

แครอทอุดมไปด้วยวิตามินเอช่วยในการบำรุง
หนังศีรษะได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อหนังศีรษะมีสุขภาพดีทำให้เส้นผมเงางาม มีความแข็งแรงและชุ่มชื้น ควรรับประทานอาหารจำพวกลีนโปรตีน, ผักและผลไม้, ธัญพืช, ถั่ว, ปลาที่มีไขมันเช่นปลาแซลมอนอินเดียและผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ

ลูกพรุน


ถ้าผมของคุณมีสภาพแห้งกร้าน บาง เปลี่ยนสีหรือผมร่วงเป็นอาการของการขาดธาตุเหล็ก ลูกพรุนเป็นที่รู้จักกันว่าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและช่วยปรับปรุงคุณภาพของเส้นผม นอกจากนี้ควรต้องกินพืชผักผลไม้สีเขียวเสริมไปด้วยนอกเหนือไปจากลูกพรุน

ถั่วเขียว


ถั่วเขียวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินบีรวม สารอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาสุขภาพเส้นผม 

ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ตไม่เพียงแต่เต็มไปด้วยเส้นใยที่ช่วยรักษาสุขภาพหัวใจและลำไส้ ยังมีสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่นสังกะสี เหล็ก
และกรดไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (PUFAs) กรดไขมันโอเมก้า 6 มีความจำเป็นในการเจริญเติบโตของเส้นผม
 

กุ้ง

กุ้งมีธาตุอาหารจำพวกวิตามินบี 12, เหล็ก และสังกะสีอยู่มาก ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการบำรุง รักษา และป้องกันการสูญเสียเส้นผม


ไข่


มันเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นเช่นโปรตีน, วิตามินบี 12, เหล็ก, สังกะสีและกรดไขมันโอเมก้า 6 ในปริมาณมาก หากขาดวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้จะส่งผลให้สภาพของผมไม่ดี นอกจากนี้ก็ยังอุดมไปด้วยไบโอติน (วิตามิน B7) ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ดีในการป้องกันผมร่วง 


ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ 

ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำเช่นนมพร่องมันเนยและโยเกิร์ต มีสารอาหารจำพวกแคลเ​​ซียมอยู่มาก ซึ่งแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเส้นผม และป้องผมร่วงได้อีกด้วย





ผู้หญิงช่วงลดแคลอรี่ต้องการสารอาหารอะไรบ้าง

การควบคุมน้ำหนักเพื่อสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงทุกช่วงอายุ แต่ก็มีผู้หญิงอยู่ไม่น้อยพ่ายแพ้ให้กับความอยากของตัวเอง ดั้งนั้นเราควรมีความฉลาดในการเลือกรับประทานและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ที่สำคัญควรเลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำจะเป็นการควบคุมพลังงานได้อย่างดี
 
คาร์โบไฮเดรต 


ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำคือให้พลังงานไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ หากคุณต้องการที่จะลดแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรตให้มุ่งเน้นการลดปริมาณของเครื่องดื่ม ขนมและอาหารอื่น ๆ ที่มีน้ำตาลดีกว่า เพื่อเพิ่มระดับพลังงานของคุณให้พอแก่ความต้องการและเพื่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเพราะคาร์โบไฮเดรตอุดมด้วยสารอาหาร นอกจากนี้ยังควรกินธัญพืชเสริม (อย่างน้อยครึ่งหนึ่งควรเป็นธัญพืชที่มีเส้นใยสูง) ผลไม้ (2 ถ้วย) และผัก (2 ½ถ้วย) ทุกวัน 

โปรตีน 

ผู้หญิงบางครั้งงดอาหารที่มีโปรตีนเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไขมัน แต่หนึ่งในวิธีที่น่าพอใจมากที่สุดที่จะกินและการควบคุมน้ำหนักคือการกินอาหารที่เป็นลีนโปรตีนหรือโปรตีนไขมันต่ำในอาหารทุกมื้อ โปรตีนไขมันต่ำมีในอาหารประเภทนม, ไข่, เนื้อสัตว์ไร้มัน, สัตว์ปีก, อาหารทะเล และถั่ว (รวม 6 ออนซ์ต่อวัน) โปรตีนจะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้า ควรเพิ่มโปรตีนบางอย่างสำหรับอาหารเช้าของคุณและอาจจะมีบ้างในช่วงเวลาอาหารกลางวัน

เหล็ก 

การบริโภคเหล็กต่ำอาจนำไปสู่​​ปัญหาร้ายแรงเช่นโรคโลหิตจางจากการขาดขาดธาตุเหล็กพบมากในผู้หญิงและเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคโลหิตจางและความเหนื่อยล้าร่างกายควรที่จะได้รับธาตุเหล็กอย่างน้อย 15 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้แก่เนื้อแดงไม่ติดมันและธัญพืช แหล่งอื่น ๆ ได้แก่ ไก่ ปลา ถั่ว และผักใบเขียว

แคลเซียม


 แคลเซียมจะช่วยในการการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ได้รับแคลเซียมเพียงพอที่จะช่วยให้หัวใจและกล้ามเนื้อของคุณแข็งแรง ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่นมไขมันต่ำ (นมชีสและโยเกิร์ต) เต้าหู้ ผักใบเขียว และน้ำผลไม้ ร่างกายควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน (มากขึ้นถ้าคุณมีอายุน้อยกว่า 18 ปีหรืออายุมากกว่า 50) 

กรดโฟลิค 

ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ต้องการกรดโฟลิก 200 - 400 ไมโครกรัมทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงการพิการทางสมองของบุตรที่ให้กำเนิด กรดโฟลิคยังสามารถเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของคุณโดยการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว อาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิคได้แก่เมล็ดธัญพืช, ผักใบเขียว, ส้ม, เบอร์รี่, ไข่แดง, ตับและถั่ว